10 เทคนิคช่วยให้ลูกไม่ต้องเรียนพิเศษ


1. ดูว่าลูกคุณจำเป็นต้องเรียนพิเศษหรือไม่


             มี 2 เหตุผลหลัก ๆ ที่เด็กถึงต้องเรียนพิเศษ เหตุผลแรกเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “พื้นฐานของการสอนพิเศษ” นั่นคือ เมื่อนักเรียนเรียนไม่ทันเพื่อนในห้องเรียน นอกจากนี้ การที่เรียนไม่ทันเพื่อนนั้นอาจทำให้เด็กสูญเสียความสนใจในวิชานั้น ๆ ด้วย ดังนั้น ควรหาครูสอนพิเศษที่มีคุณสมบัติดีพอที่จะสามารถจูงใจให้ลูกคุณเรียนและรักในวิชานั้น


              สิ่งที่สำคัญที่สุด เป้าหมายของการเรียนพิเศษนั้นคือเพื่อไม่ให้ลูกคุณต้องเรียนพิเศษอีกครั้งในอนาคต เหตุผลที่สองคือ เด็กอาจต้องการการเติมเต็มศักยภาพที่เขามีในตัวและต้องการการฝึกหัดแบบพิเศษประมาณ 2-3 เดือนก่อนที่จะมีการสอบครั้งใหญ่ เป้าหมายของผู้สอนพิเศษนั้นก็เพื่อช่วยให้เด็กสามารถรวบรวมความรู้และตอบคำถามใด ๆ ก็ได้ที่เขาฝึกฝนมาในช่วงที่มีการเรียนพิเศษ


2. เป็นครูสอนพิเศษให้กับลูกและหาวิธีเรียนที่สนุกสนาน

              ถามตัวเองว่าเรียนอย่างไรถึงจะสนุก? กุญแจสำคัญคือการสอนแบบไม่ต้องเตรียมตัวก่อนและหาอะไรก็ได้ที่คุณหาได้เป็นเครื่องมือและทำให้การเรียนนั้นสนุก 






3. ลงทะเบียนในนิตยสารหรือทีวี

            เป็นแทคติคที่จะทำให้ลูกสนใจในวิทยาศาสตร์แบบที่เขาไม่รู้ตัว การลงทะเบียนทางช่อง National Geographic หรือผ่านทางนิตยสารซึ่งเป็นนิตยสารที่เต็มไปด้วยข้อเท็จจริงต่าง ๆ และวิธีการทดลองที่ให้เด็ก ๆ ทดลองได้เองที่บ้าน 


4.พาลูกไปห้องสมุด


            ในความเป็นจริง มันก็ได้ผลจริง นอกจากจะให้ลูกคุณได้คุ้นเคยกับการอ่านตั้งแต่เขาอายุยังน้อย ห้องสมุดยังเป็นอีกสถานที่ที่ให้ลูกคุณได้ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ที่เขามีความสนใจอีกด้วย เพราะลูกคุณอาจมีสิ่งที่เขาสนใจแต่ยังไม่ได้บอกให้ใครรู้ ดังนั้น การที่คุณสังเกตชนิดของหนังสือที่เขาสนใจอ่านอาจทำให้คุณเห็นแววความชอบของเขาก็ได้


5.กำหนดเลวาเพื่อเรียนรู้เสริมในทุกคืน


            คุณควรหารือเรื่องนี้กับลูกของคุณเพื่อตกลงเวลาที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมที่บ้าน เช่น เวลาหนึ่งทุ่ม – สองทุ่มครึ่งทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ในช่วงเวลานี้ จะไม่มีสิ่งอื่นมารบกวนสมาธิ เช่น เกมส์ หรือโทรศัพท์มือถือ วิธีนี้จะใช้ได้ดีกับเด็กเล็ก ๆ เพราะเป็นวิธีที่ช่วยสร้างโครงสร้างชีวิตของเด็กในแต่ละวัน ทำให้เขามีสมาธิมากขึ้นเพราะเขารู้ว่าเขาจะได้พักหลังจากที่เขาเรียนรู้เสร็จ


6. วางแผนปรับตารางเวลาและตั้งเป้าหมายสำหรับการสอบ


            เช่น ทำก่อนที่ลูกจะสอบประมาณ 1 เดือน ลองคุยกับลูกเพื่อทำรายการหัวข้อที่ลูกต้องสอบ จากนั้นก็บันทึกวันที่ลูกสอบลงในปฏิทินและร่างแผนตารางเวลาขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการตั้งเป้าหมายสำหรับการสอบที่กำลังจะมาถึง และจงระลึกไว้เสมอว่าต้องตั้งเป้าตามความเป็นจริงโดยดูที่เกรดของลูกและกระตุ้นให้ลูกตั้งใจทำให้ดีขึ้นในการสอบครั้งนี้อย่างน้อยให้เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งเกรด






7. อย่าติดสินบนเพื่อให้ลูกทำข้อสอบได้ดี


           “ถ้าลูกทำข้อสอบได้ดี แม่จะซื้อของเล่นที่ลูกชอบให้” การกล่าวคำในลักษณะเช่นนี้รังแต่จะทำให้เกิดความเครียดกับเด็ก แทนที่การสัญญาว่าจะให้รางวัลกับลูกจะเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้กับลูก 


8. ให้ลูกที่โตกว่าช่วยสอนหรือติว


           ให้ลูกคนที่โตกว่าที่สามารถทำหน้าที่สอนน้องได้ช่วยสอนน้อง ๆ วิธีนี้จะทำให้พวกเขามีความรู้และรู้สึกว่าการเรียนพิเศษที่บ้านนั้นเป็นเรื่องสนุกสนาน แต่คุณต้องแน่ใจว่าลูกคนที่รับผิดชอบสอนน้องนั้นทำงานของเขาเสร็จเรียบร้อยแล้วเช่นกัน เพราะคุณเองก็ไม่อยากให้ลูกคนที่มาช่วยสอนเกิดความเครียดกับหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง


9. อย่าใส่ใจกับพ่อแม่ที่ส่งลูกเรียนโรงเรียนแพง ๆ


           ถ้าคุณรู้สึกผิดที่เพื่อน ๆ หรือญาติ ๆ ของคุณส่งลูกเรียนโรงเรียนดัง ๆ หรือแพง ๆ ลูกเขาเรียนได้เกรดดีกว่า จ่ายค่าเรียนพิเศษสูงลิบลิ่ว อะไรเทือกนั้น แทนที่คุณจะรู้สึกท้อหรือเครียดไปกับสิ่งเหล่านี้ คุณควรพูดคุยกับครูที่โรงเรียนของลูกหรือใครก็ตามที่สามารถช่วยติวลูกของคุณให้เรียนเก่งขึ้นมาได้





10. เรียนให้สนุก


        โอกาสในการเรียนรู้มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นอย่าจำกัดการเรียนรู้ของลูกคุณเฉพาะที่บ้าน ลองค้นหาสถานที่เสริมความรู้ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯหรือตามจังหวัดต่าง ๆ สถานที่ที่จะให้ลูกคุณได้เรียนรู้ไปพร้อมกับการสร้างความสนุกเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเขานั่นเอง


ที่มา : http://th.theasianparent.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น