ค่านิยม 12 ประการ

ค่านิยม 12 ประการ ของ คสช. มีอะไรบ้างมาดูกัน












1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์



ความรักชาติ 
ชาติ หมายถึง แผ่นดินที่มีประชาชนยึดครอง มีอาณาเขตที่แน่นอน มีการปกครองเป็นสัดส่วน มีผู้นำเป็นผู้ปกครองประเทศและประชาชนทั้งหมด ด้วยกฎหมายที่ประชาชนในชาตินั้นกำหนดขึ้น เช่น ประเทศไทย มีอาณาเขต มีเนื้อที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 66.7 ล้านคน (พ.ศ. 2555) มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของตนเอง สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษเป็นเวลายาวนาน ผู้ที่มีความรักชาติ จะช่วยกันปกป้องรักษาชาติ ไม่ให้ศัตรูมารุกรานหรือทำร้ายทำลาย เพื่อให้ลูกหลานได้อยู่อาศัยต่อไป และทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขสืบไป ส่วนผู้ที่ไม่รักชาติ ก็จะผู้ที่คิดไม่ดีต่อชาติ เปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาทำร้าย ทำลาย แล้วยึดครองประเทศชาติ สร้างความแตกแยกให้คนในชาติ นำความเสื่อมเสียมาให้ประเทศชาติบ้านเมือง


ศาสนา
ศาสนา หมายถึง คำสอนขององค์พระศาสดาแต่ละพระองค์ เช่น ศาสนาคริสต์ คือ คำสอนของพระเยซูเจ้า ศาสนาอิสลาม คือ คำสอนของพระอัลลอฮ์ มีศาสดาชื่อมุฮัมมัด นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระอัลลอฮ์ ศาสนาพุทธ คือ คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และศาสนาอื่นๆ ก็คือ คำสอนขององค์ศาสดาแต่ละพระองค์ตามศาสนาหรือลัทธิความเชื่อของศาสนานั้นๆ ศาสนาทุกศาสนามีไว้เพื่อสอนให้มนุษย์ละชั่ว ประพฤติดี ผู้ที่รักศาสนา จะเป็นผู้ที่นำคำสอนของแต่ละศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ละความชั่ว กระทำแต่ความดี และทำจิตใจให้สะอาดปราศจากเครื่องเศร้าหมอง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ส่วนผู้ที่ไม่รักศาสนา จึงเป็นผู้ที่ไม่นำคำสอนของศาสนานั้นไปประพฤติปฏิบัติ ไม่ละความชั่ว ไม่ประพฤติดี ไม่ชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลส ปล่อยให้ความโลภ ความโกรธ ความหลงครอบงำจิตใจ

พระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ผู้เป็นพระประมุขของประเทศ มีหน้าที่ปกครองประชาชนพลเมืองในประเทศนั้นให้อยู่ดีมีสุขตามกฎหมาย ตามครรลองคลองธรรมจารีตประเพณีวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ เช่น ประเทศไทยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นพระประมุข ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ตามหลักทศพิธราชธรรม ทรงให้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของปวงชนชาวไทย นำความเจริญรุ่งเรืองความผาสุกมาสู่พสกนิกรถ้วนหน้า ผู้ที่รักพระมหากษัตริย์ จะเป็นผู้มีความภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร มีความเป็นอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข มีความรู้รักสามัคคีกลมเกลียว รวมน้ำใจไทยทั้งชาติให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ประพฤติตนเป็นคนดีถวายเป็นพระราชกุศล และถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ส่วนผู้ที่ไม่รักพระมหากษัตริย์ จะเป็นผู้ที่ไม่จงรักภักดี ไม่เคารพนับถือ ไม่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์


         สถาบันทั้ง 3 นี้มีบุญคุณต่อเราอย่างมาก เพราะชาติ คือ แผ่นดินที่เราอยู่อาศัย ศาสนา คือ คำสอนขององค์พระศาสดาแต่ละพระองค์ที่สอนให้เราทุกคนเป็นคนดี และพระมหากษัตริย์ คือ ผู้ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม เพื่อความสงบสุขของพสกนิกรชาวไทย เราทุกคนจึงควรรักชาติ รักศาสนา รักพระมหากษัตริย์ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ที่มา : http://taamkru.com/th/

การปฏิบัติของฉัน
คือ   - เมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติ จะหยุดยืนตรง (บริเวณที่ปลอดภัย)
      - ตั้งใจเวลาร้องเพลงชาติและสวดมนตร์ไหว้พระตอนเข้าแถว
- ทำบุญตักบาตรในวันพระ(หากมีโอกาส) หล่อเทียนพรรษา
- เคารพในสถาบันพรมหากษัตริย์

หล่อเทียนพรรษา

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม


ซื่อสัตย์ 

        คือ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อ สัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง

คนที่มีความซื่อสัตย์จะเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักความจริงและความถูกต้องในการดำเนินชีวิต ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งทางกาย วาจา ใจ มีความละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด คนมีศีลธรรมหรือมีมนุษยธรรม ที่สามารถเรียกได้ว่า เป็นอารยะชน จะมีความประพฤติดี ประพฤติชอบ และมีความซื่อสัตย์ 


ความเสียสละ
 

         เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ทุกคนในสังคมต้องมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเสียสละแบ่งปันให้แก่กัน ไม่มีจิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัว ความเสียสละจึงเป็นคุณธรรมเครื่องผูกมิตรไมตรี ยึดเหนี่ยวจิตใจไว้ เป็นเครื่องมือสร้างลักษณะนิสัยให้เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนรวมมากกว่าประโยชน์สุขส่วนตัว

คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมจะเกิดความสงบสุขได้ควรจะมีคุณธรรมคือความเสียสละ คือเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม เพราะถ้าต่างคนต่างเห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่คนอื่นแล้ว ส่วนรวมก็จะเดือดร้อน เมื่อส่วนรวมเกิดความเดือดร้อนเสียแล้วความสุขความสงบจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

การเสียสละจึงเป็นคุณธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในสังคม เริ่มตั้งแต่ครอบครัวอันเป็นหน่วยเล็กๆ ของสังคม ต้องเสียสละความสุขส่วนตัวให้แก่กัน เสียสละทรัพย์สินที่หามาได้ด้วยความเหนื่อยยากลำบากให้แก่กัน ทั้งในยามปกติและคราวจำเป็น
 


ความอดทน 

หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของสกปรก  หรือของหอม  ของดีงามก็ตาม

ลักษณะความอดทนที่ถูกต้อง
๑. มีความอดกลั้น คือเมื่อถูกคนพาลด่า ก็ทำราวกับว่าไม่ได้ยิน ทำหูเหมือนหูกระทะ เมื่อเห็นอาการยั่วยุก็ทำราวกับว่าไม่ได้เห็น ทำตาเหมือนตาไม้ไผ่ ไม่สนใจใยดี ไม่ปล่อยใจให้เศร้าหมองไปด้วย ใส่ใจสนใจแต่ในเรื่องที่จะทำความเจริญให้แก่ตนเอง

๒. เป็นผู้ไม่ดุร้าย คือสามารถข่มความโกรธไว้ได้ ไม่โกรธ ไม่ทำร้ายทำอันตรายด้วยอำนาจแห่งความโกรธนั้น  ผู้ที่โกรธง่ายแสดงว่ายังขาดความอดทน
๓. ไม่ปลูกน้ำตาให้แก่ใครๆ คือไม่ก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือเจ็บแค้นใจจนน้ำตาไหล ด้วยอำนาจความเกรี้ยวกราดของเรา
๔. มีใจเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ คือมีปีติอิ่มเอิบใจเสมอๆ ไม่พยาบาท ไม่โทษฟ้า โทษฝน โทษเทวดา โทษโชคชะตา หรือโทษใครๆ ทั้งนั้น พยายามอดทนทำการงานทุกอย่างด้วยใจเบิกบาน

ที่มา : http://taamkru.com/th/

การปฏิบัติของฉัน
      คือ   - ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง
- ช่วยสอนการบ้านเพื่อนเท่าที่ตัวเองสามารถทำได้
- หากเปิดประตูแล้วมีคนเดินตามมาก็จะเปิดรอให้เขาเข้ามาด้วย
- เวลาง่วงนอนขณะเรียนก็จะอะไรทำเพื่อไม่ให้หลับ

          



3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์



ความกตัญญู

คือ การรู้สึกสำนึกในคุณ ด้วยแสดงความเคารพ นับถือ เชื่อฟัง และช่วยเหลือในกิจการงานต่าง ๆ การกระทำเช่นนี้ ย่อมนำมาซึ่งความสุข ความเจริญ และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและหน้าที่การงาน ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี การที่เยาวชนไทยได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีในเรื่องของความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นการสร้างภูมิ คุ้มกันให้สังคม การเลี้ยงดูของครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยอบรมและส่งเสริมพฤติกรรมของเยาวชนให้มีคุณลักษณะของการเป็นคนมีความกตัญญู ความตระหนักรู้ในคุณของบุคคล สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อตนเองทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

ความกตัญญูนี้เป็นคุณธรรมที่มนุษย์ควรปฏิบัติไม่เฉพาะต่อมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น แต่รวมไปถึงต่อสัตว์และพืชด้วย ผู้ที่มีความกตัญญูย่อมจะทำตนเองให้มีความสุขและทำผู้อื่นให้มีความสุขด้วย ลักษณะของคนมีความกตัญญูตามหลักพระพุทธศาสนา มี 2 ลักษณะ ได้แก่
กตัญญูชั้นสามัญ คือ กตัญญูอย่างสามัญทั่วไป หมายถึง รู้อุปการคุณที่บุคคลอื่นทำให้เรา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกตเวที คือ การตอบแทนคุณ ซึ่งเด็กจะยอมรับว่าใครมีคุณก็ต่อเมื่อเขาทำอะไรให้กับตนเท่านั้น เช่น ยอมรับว่าพ่อแม่มีพระคุณ เพราะได้เลี้ยงดูมา ยอมรับว่าครูมีพระคุณ เพราะได้อบรมสั่งสอน ยอมรับว่าญาติพี่น้องมีบุญคุณ เพราะเคยให้ข้าวให้ขนม
กตัญญูชั้นสัตบุรุษ เป็นความกตัญญูชั้นสูง หมายถึง การรู้จักคุณธรรมความดีที่มีอยู่ในตัวบุคคลอื่น ใครมีความดีก็รู้ว่าเขาเป็นคนดี ไม่ว่าจะทำอะไรให้เราหรือไม่ก็ตาม ไม่ยึดเอาตัวเองเป็นเครื่องวัดความดีของคนอื่น เป็นการตัดสินความดีด้วยความดี และรู้จนกระทั่งว่าธรรมทั้งหลายมีคุณค่าอย่างไร และพยายามถ่ายทอดคุณลักษณะที่ดีนั้นมาใส่ตัวเรา เพื่อจะได้ทำความดีเป็นแบบอย่างที่ดีเหมือนเขา


ที่มา :
  http://taamkru.com/th/


การปฏิบัติของฉัน
      คือ   - ไหว้พ่อแม่ก่อนออกจากบ้านและกลับบ้านทุกวัน
            - เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์
            - ไหว้อาจารย์ที่ยืนเวรตอนก่อนเข้าและออกจากโรงเรียน
            


วันแม่ - วันพ่อ


4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม


การศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ในการพัฒนาสังคมให้คนซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม เป็นคนมีคุณภาพ คุณธรรม กล่าวคือ การศึกษาช่วยสร้างจิตสำนึกในการเป็นมนุษย์ มีจิตวิญญาณของผู้มีอารยะธรรมทางปัญญาและความงดงามทางจิตใจ การศึกษาสร้างให้คนมีความรู้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ มีความอดทนในการต่อสู้กับอุปสรรคของชีวิต การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกวัย การศึกษามีความสำคัญหลายประการ ดังนี้ 

1. การศึกษาช่วยขัดเกลาให้คนเป็นมนุษย์ ดังคำกล่าวของท่านพุทธทาสภิกขุว่า เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน ถ้าใจต่ำเป็นได้แต่คน ย่อมเสียทีที่ตนได้เกิดมา  
             
2. การศึกษาช่วยอบรมพลเมือง ให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิต สามารถช่วยให้ตนเองดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขอย่างมีปัญญา 

3. การศึกษาช่วยค้ำจุนให้ชาติสามารถความดำรงอยู่ได้ เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งในการ ปลูกฝังความรักและหวงแหนในสิ่งที่แสดงความเป็นชาติได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ เอกราช อาณาเขต 
  
4. การศึกษาช่วยสร้างพลเมืองให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ ในการเลี้ยงตนเองและครอบครัว 

5.การศึกษาช่วยให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและสามารถปกป้องตนเองและประเทศชาติให้ดำรงสถานะภาพอยู่ได้ในสังคมโลกอย่างมีเสถียรภาพ



การปฏิบัติของฉัน
      คือ   - ตั้งใจเรียนในห้อง
- อ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบปลายภาคและเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย
- ทำการบ้านด้วยตนเอง

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม



วัฒนธรรม

หมายถึง   สิ่งที่คนไทยกำหนดสร้างขึ้น มีการเรียนรู้สืบต่อกันมามีลักษณะที่แสดงออกถึงความงอกงาม  ความเป็นระเบียบร้อย  ความกลมเกลียว  ตลอดจนการมีศีลธรรมอันดีของสมาชิกไทย  เช่น  การใช้ภาษาไทย  การรู้จักเคารพผู้อาวุโส การไหว้ ศิลปกรรม  แบบไทย  อาหารไทย รวมทั้งการแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อย ถูกต้องตามกาลเทศะเหมาะสมตาฐานะและวัย

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยนั้น
  ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้

1.  ศึกษาค้นคว้า  และการวิจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา  เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้   ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต  เพื่อให้เห็นคุณค่า  ทำให้เกิดการยอมรับ  และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป

2.  ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า  ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม

3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน  ประสานงานการบริการความรู้  วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม

4.  ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน

5. สร้างทัศนคติ  ความรู้  และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง  ฟื้นฟู  และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ   และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน

6.  จัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ  สามารถเลือกสรร  ตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย



การปฏิบัติของฉัน
      คือ   – ไหว้ถูกต้องตามแบบที่ให้ปฏิบัติ
            - ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารกับคนชาติเดียวกัน
            - เข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ
           



6.
 มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน


            หมายถึง   การที่เราให้โดยไม่หวังผลตอบแทนนั้นเป็นสิ่งที่ประเสริฐ การทำสิ่งต่างๆด้วยความหวังดี ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ที่เราจะได้คือความสุขเล็กๆน้อยๆ แต่เราก็จะได้มิตรสัมพันธ์ที่ดี ศีลธรรมก็เป็นข้อที่เราควรถือไว้ในใจ เช่นศีล๕ และการที่เราสื่อสัตย์ตลอดไม่ว่าจะทำอะไร จะทำให้เราเป็นคนดีในสังคม


วิดีโอตัวอย่าง






การปฏิบัติของฉัน
      คือ   - ร่วมบริจาคเงินให้ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ
            - ให้เพื่อนยืมปากกา เมื่อเพื่อนลืมนำมา


7.
 เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง

การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

          สังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ กันไป พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ

ประมุขของรัฐ

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับกำหนดรูปแบบการปกครองและประมุขแห่งรัฐไว้ว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการเทิดทูนพระมหากษัตริย์ คือ ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และรัฐธรรมนูญยังกำหนดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน โดยใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล การกำหนดเช่นนี้หมายความว่าอำนาจต่าง ๆ จะใช้ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ซึ่งในความเป็นจริงอำนาจเหล่านี้มีองค์กรเป็นผู้ใช้ ฉะนั้นการที่บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการผ่านทางองค์กรต่าง ๆ นั้น จึงเป็นการเทิดพระเกียรติ แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่องค์กรที่เป็นผู้พิจารณานำขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
          พระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญของไทยแม้จะได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการ เมืองและกำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการปฏิบัติทางการปกครอง ทุกอย่าง แต่พระมหากษัตริย์ก็ทรงมีอำนาจบางประการที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ และ
เป็นพระราชอำนาจที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัยจริง ๆ ได้แก่ การแต่งตั้งคณะองคมนตรี การแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ และ
สมุหราชองครักษ์ การแก้ไขเพิ่มเติมกฏมณเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ การพระราชทางเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นต้น
          พระราชอำนาจที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง คือ พระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็น ชอบของรัฐสภามาแล้วและนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ แต่พระองค์อาจใช้พระราชอำนาจยับยั้งได้ เช่น กรณีพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งรัฐสภาจะต้องนำร่างพระราชบัญญัติที่ถูกยับยั้งนั้นไปพิจารณาใหม่




การปฏิบัติของฉัน
      คือ   - เข้าแถวเวลาซื้ออาหาร ไม่แซงคิวผู้อื่น
            - ร่วมเข้าเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน
            - เมื่อมีการให้ร่วมออกความคิดเห็นจะฟังเสียงข้างมาก


8.
 มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่



                     คนไทยต้องซึมซับจากการเข้าแถว เคารพในการมีระเบียบวินัย จะสร้างการเรียนรู้ไปถึงการเคารพบุคคลอื่น จากนั้นเราก็จะหนักแน่นในการเคารพกฎหมายดำเนินการดังนี้
             - สร้างกฎระเบียบวินัยภายในโรงเรียน  ตั้งแต่ หัว จรดเท้า  มีทั้งคำชื่นชมและบทลงโทษ
             - เมื่อพบเจอผู้ใหญ่ให้ไหว้ก่อน  โดยที่นักเรียนไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงว่ารู้จักหรือไม่

วิดีโอตัวอย่าง





การปฏิบัติของฉัน
      คือ   - เดินข้ามถนนตรงทางม้าลาย-สะพานลอย
            - สวมหมวกกันนอกขณะซ้อนจักรยานยนต์
            - ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน




9.
 มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



           หมายถึง การตระหนักรู้และควบคุมกระบวนการรู้ คิดของบุคคล คือรู้ว่า สามารถควบคุมตนเองให้ทำตามนั้นได้ เช่น เรามักนั่งหลับในห้องเรียน (เรารู้ว่าเราเป็นเช่นนั้น) เวลาเข้าห้องเรียนจึงไปนั่งหน้าสุดทุกครั้ง (เพื่อจะได้ไม่หลับ)

วิดีโอตัวอย่าง





การปฏิบัติของฉัน
คือ   - ใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด
            - หยอดเงินใส่กระปุกออมสินทุกวัน



10.
 รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี



"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชายไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ


หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง


การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้

๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติคนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

๓. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กันดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี



การปฏิบัติของฉัน
      คือ   - ใช้เงินอย่างประหยัด ไม่ใช้จ่ายเกินจำเป็น
            - หยอดเงินใส่กระปุกออมสินทุกวัน

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา


มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา ซึ่งย้ำตรง "ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป" 

- การเข้มแข็งมีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรืออาจเรียกว่าการละอายต่อบาป ซึ่งตรงต่อหลัก หิริ-โอตัปปะ ตามหลักศาสนา โดย หิริ แปลว่า ความละอายแก่ใจ หมายถึงความละอายใจตัวเองต่อการทำความชั่วความผิด ต่อการประพฤติทุจริตทั้งหลายและความละอายใจตัวเองที่จะละเว้นไม่ทำความดีซึ่งควรจะทำให้เกิดมีในตน

- ส่วนโอตัปปะ แปลว่า ความเกรงกลัว หมายถึงความสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว ต่อผลของความทุจริตที่ทำไว้


การปฏิบัติของฉัน
      คือ   - ปฏิบัติตามกฎหมาย
            - ไม่ฆ่าสัตว์
           


12.
 คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง


              หมายถึง   ในการดำเนินการสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น เราควรคำนึงถึงข้อดีและข้อเสีย แต่ไม่ใช้แค่คำนึงสำหรับตนเองแต่ควรคำนึงถึงผู้อื่นด้วย อีกทั้ง เราควรช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เช่นไปสอนหนังสือที่บ้านเด็กกำพร้า หรือไปให้ความบันเทิงที่บ้านคนชรา


            ประโยชน์สาธารณะ(Public interest) หรือ ประโยชน์ส่วนรวมของคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของกลุ่มใดหรือคนใดโดยเฉพาะ เช่น

- การดูแลความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน การให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

- การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการดำรงชีวิต ตอบสนองความต้องการของ

ประชาชน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ถนน การศึกษา การรักษาพยาบาล

- การปกป้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ

สรุปว่า
 "ผลประโยชน์ส่วนรวมหรือผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interests) หมายถึง ... ผลประโยชน์สาธารณะยังหมายรวมถึงหลักประโยชน์ต่อมวลสมาชิกในสังคม ... "


การปฏิบัติของฉัน
      คือ   - ช่วยดูแล รักษาความสะอาดห้องเรียน
            - ไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ
            - ไม่ทิ้งขยะและน้ำเสียลงแม่น้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น