หนังสั้น shortfilm

หนังสั้นคืออะไร 

          หนังสั้น คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความเรื่องนี้ว่าด้วยความสั้นหนังสั้นคำจำกัดความของหนังประเภทหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจของวัยรุ่นและคนรักหนังในสมัยนี้ จะมีใครเคยรู้บ้างหรือเปล่าว่าหนังสั้นนั้นคือจุดกำเนิดของภาพยนตร์ทั้งหลายที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้กลับสู่จุดเริ่มต้นหนังสั้นคือหนังที่ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของภาพยนตร์ต่างๆที่เห็นอยู่ในยุคปัจจุบัน หนังสั้นเรื่องแรกที่สามารถค้นพบได้คือ เรื่อง Fred Ott’s Sneeze (1984) ของ Edison โดยเป็นการถ่ายทอดภาพการจามของคน ในตอนแรกการถ่าย ทำหนังจะเน้นเป็นการถ่ายทอดกริยาต่างๆของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน และจึงมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ความหมายของการนำเสนอในแง่ต่าง ๆ การนำเสนอที่จะบรรลุเป้าหมายต้องมีทั้ง 

            CONTENT : เนื้อหา / เนื้อเรื่อง  
            PROCESS : วิธีการ / ขบวนการในการสื่อหรือการถ่ายทอด
กระบวนการทำหนังสั้น

1) หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ การตัดต่อ การประเมินผล
 2) หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มีความสารถเฉพาะ
 3) เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ
 4) บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา
     เรื่องบทจะมี หลายแบบ
             - บทแบบสมบูรณ์  ประมาณว่า เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูด
             - บทแบบอย่างย่อ ประมาณว่า เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง             
 5) การผลิต อย่างแรก แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน  ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก โดยรวม มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้  
 6) ค้นหามุมกล้อง 
            - มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
            - มุมแทนสายตา ไม่ต้องอธิบายมั้ง
            - มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้ สวยมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์
 7) การเคลื่อนไหวของกล้อง
           - การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถนั้นสัมพันกันครับ
           - การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหวเลยครับ
           - การซูม เป็นการเปลียนองค์ประกอบภาพครับ เหมือนเน้ความสนใจในจุดๆหนึ่ง
 8) เทคนิคการถ่าย (เออผมจะอธิบายไงดีเนี้ยมันเยอะมากอ่ะครับ)
                จับกล้องให้มั่น อย่างผมก็จะจับ แบบกระชับกับตัวเลย คือแขนทั้งสองข้างแนบตัว และก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็วนะครับ กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอครับ
ถ้าอยากทราบเทคนิคการถ่ายแบบละเอียดก็ เข้ามาถามละกันนะครับ ผมต้องใช้ประสปการณ์ตรงอธิบายอ่ะ
  9) หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอฟเฟค ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ
10) การตัดต่อ
      อย่างแรก จัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้ง
      อย่างสอง จัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้
      อย่างสาม แก้ไขข้อบกพร่อง
      อย่างสี่ เพิ่มทคนิคให้ดูสวยงาม
      อย่างห้า เรื่องเสียง
       ขั้นการตัดต่อและการตัดต่อเชื่อมฉาก
              - การตัด cut
              - การเฟด fade
              - การทำภาพจางซ้อน
              - การกวาดภาพ
              - ซ้อนภาพ
              - ภาพมองทาจ
        โปรแกรมที่จะนำมาใช้ แนะนำดังต่อไปนี้นะ
        1. movie maker (Xp ก็มีมาให้แล้ว) ตัดต่อเบื้องต้น ตัวเชื่อมเฟรมค่อนข้างน้อย
        2. Sony vegas 7.0  การทำงานค่อนข้างละเอียด มีลุกเล่นเยอะมากมาย(แนะนำสำหรับมือใหม่)
        3. adobe premiere pro 2.0 มีการตัดต่อค่อนข้างละเอียดอ่อนมากๆใช้งานยากแต่ ถ้าใช้เป็นสามารถ  สร้างหนังได้ใหญ่ๆเรื่องนึงเลย แต่การใช้งานยุ่งยากไม่เหมาะกับมือใหม่

ทีมงานการทำหนังสั้น

ตอบ. 1.ผู้กำกับ คนนี้สำคัญที่สุด นั้นก็คือคุณน่ะแหละครับ ก่อนหน้านี้ก็เกริ่นมาเล็กน้อยครับว่าผู้กำกับต้องทำอะไรบ้าง แต่นั้นเป็นในส่วนของการเตรียมตัวและเตรียมงาน แต่เมื่อมาอยู่หน้ากอง ผู้กำกับคือผู้ที่กำหนดทิศทางของหนังให้เป็นไปตามใจที่เขาหรือเธอผู้นั้นต้องการ 
โดยสิ่งหนึ่งที่ผู้กำกับแต่ล่ะคนจำเป็นจะต้องมี ขาดไปไม่ได้เป็นอันขาด นั่นคือสมาธิครับ การจิตจดจ่ออยู่กับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า งานที่ว่านั้นก็หมายถึง คอยควบคุมนักแสดง กำกับให้เขาแสดงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นไปตามบทบาทที่เราได้สร้างขึ้น และยังรวมไปถึงงานอื่นๆ เช่น การดูว่าตากล้องสามารถถ่ายภาพวางมุมกล้องออกมาได้อย่างที่เคยมีการตกลงกันก่อนหน้านี้ไหม หรือว่าเสียงโอเคหรือเปล่า ตัวละครมีบทพูดตรงตามที่เขียนไว้ไหม? จงจำไว้นะครับว่าจะต้องมีสมาธิอยู่ตลอดระหว่างการทำงาน หายไปไม่ได้เลย   
2.ผู้ช่วยผู้กำกับ อย่าที่เกริ่นไว้ มีหน้าที่เป็น “แขนขา” ของผู้กำกับ เพราะในขณะที่ผู้กำกับกำลังคิดถึงงานที่อยู่ตรงหน้า ผู้ช่วยฯก็จะมาคิดถึงการทำให้งานมันเดินหน้าไปได้ หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือการลดภาระของผู้กำกับลงไป เพราะแทนที่จะต้องมานั่งคิดว่า ต่อไปจะต้องถ่ายฉากไหน แล้วมีใครเข้าฉากบ้าง ฉากนี้ควรจะถ่ายถึงกี่โมงเพื่อให้เสร็จภายในเวลาที่มีอยู่ นักแสดงแต่งหน้าอยู่ เมื่อต้องเข้าฉาก ผู้ช่วยฯก็เป็นคนไปตามนักแสดงนั้นๆ เรื่องเหล่านี้เป็นหน้าที่ของผู้ช่วยแหละครับที่จะต้องคิด 
แล้วผู้ช่วยผู้กำกับต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ประการแรกต้องใจเย็นครับ มีความอดทน เพราะการต้องประสานงานกับหลายๆ ฝ่ายอาจจะทำให้มีเรื่องกระทบกระทั่งบ้าง ก็ต้องขันติเข้าข่มไว้ และอีกอย่างคือ จะต้องมีความตื่นตัวต่อทุกสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่หลุกหลิกไปกับสิ่งเร้าอื่นใด และนอกจากนี้ก็ยังจะต้องมีความคล่องตัว รวดเร็ว ฉับไว
3.ผู้จัดการกองถ่าย หลักๆ คือดูแลเรื่องการเงิน ว่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่ แล้วคอยให้คำแนะนำ (แกมบังคับ) แก่ทีมงานว่า ควรจะใช้งบเท่าไหร่เพื่อการซื้อหรือทำอะไรสักอย่าง ว่าง่ายๆ ก็คือหน้าที่ควบคุมให้ระบบการเงินในกองถ่ายราบรื่น เป็นไปด้วยความเหมาะสมตามงบที่มีอยู่ หน้าที่นี้จำเป็นจะต้องอาศัยผู้มีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน และมีสายตาที่ปราดเปรียวว่องไว เมื่อเห็นอะไรที่ผิดปรกติ เช่น กำลังจะมีคนใช้เงินเกินงบทั้งๆ ที่สามารถประหยัดได้มากกว่านั้น ผู้จัดการกองถ่ายจะต้องรู้ก่อนและแก้ไขได้ทันท่วงที 
4.ตากล้อง/ผู้กำกับภาพ ไม่ใช่แค่เอากล้องมาวางแล้วก็ถ่ายอย่างเดียวนะครับ แต่จะต้องตีความตามบทหนังที่อ่าน และถ้ามีสตอรี่บอร์ดก็ต้องถ่ายตามนั้น โดยที่จะต้องช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อให้ได้ภาพอย่างที่ผู้กำกับต้องการ หรือหากภาพที่วางไว้ในสตอรี่บอร์ดมันเกิดไม่ใช่ นั่นแปลว่าผู้กำกับภาพต้องรู้เรื่ององค์ประกอบภาพ (การวางตำแหน่งวัตถุต่างๆ เวลาอยู่ในเฟรมให้ดูดี) รวมถึงรู้วิธีเลือกใช้ขนาดภาพให้เหมาะสมในคัตที่กำลังถ่ายๆ อยู่ และสามารถหาหนทางอื่นมาเป็นทางออกให้แก่ผู้กำกับได้ แต่แน่นอนว่าสุดท้ายแล้วดวงตาของผู้กำกับภาพ ย่อมจะต้องเป็นดวงตาอันเดียวกับของผู้กำกับ 
5.คนบันทึกเสียง สำคัญไม่น้อยกว่าภาพเลย เพราะถ้าเสียงไม่ดีฟังที่ตัวละครพูดไม่รู้เรื่องนี้จบกัน คนบันทึกเสียงไม่ได้แค่ทำหน้าที่บันทึกเสียงอย่างเดียว แต่ยังต้องคอยช่วยผู้กำกับดูว่า ก่อนถ่ายเมื่อไปดูโลเคชั่น ก็จะบอกได้ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับการอัดเสียงเพื่อที่จะแก้ไขได้ หรือระหว่างถ่าย ก็คอยดูว่าช่วงไหนอัดเสียงได้ไม่ได้ เพื่อที่จะสามารถทำให้ได้เนื้อเสียงที่มีคุณภาพดีไปใช้ในการทำงานด้าน post production 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น